วันจันทร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ประมวลข้อหารือ คำถาม – คำตอบ ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) พ.ศ. 2554

ประมวลข้อหารือ คำถาม – คำตอบ
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2554

* * * * * * * * * * * *

๑. คำถาม กรณีคณะกรรมการการเลือกตั้งมีมติในการประชุมครั้งที่ ๑๐๐/๒๕๕๐ ลงวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ ห้ามมิให้อดีตกรรมการบริหารพรรคการเมืองที่ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง เพราะเหตุแห่งการยุบพรรคการเมือง ช่วยเหลือพรรคการเมืองหรือผู้สมัครรับเลือกตั้งในการหาเสียงเลือกตั้ง การห้ามดังกล่าวอาศัยข้อกฎหมายใด

คำตอบ ตามบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๕๐ และข้อบังคับของพรรคการเมืองที่บังคับใช้อยู่ในขณะนั้น กำหนดให้การดำเนินกิจกรรมทางการเมืองของสมาชิกพรรคการเมือง สิ้นสุดลงเมื่อตกเป็นบุคคลผู้ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ตามมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๕๐ ฉะนั้น บุคคลดังกล่าวจึงพ้นจากตำแหน่งกรรมการบริหารพรรคการเมืองและจะไปจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมืองใหม่ หรือเป็นกรรมการบริหารพรรคการเมือง หรือมีส่วนร่วมการจัดตั้งพรรคการเมืองใหม่อีกไม่ได้ ภายในเวลาที่ห้าปีนับแต่วันที่พรรคการเมืองนั้นต้องยุบไป ตามมาตรา ๙๗ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๕๐ หากบุคคลดังกล่าวได้เข้าไปใช้อำนาจหน้าที่หรือกระทำการอันมีลักษณะเช่นเดียวกับกรรมการบริหารพรรคการเมือง ก็อาจเข้าข่ายเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๙๗ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๕๐ (มติ กกต. ครั้งที่ ๔๕/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๔)


๒. คำถาม กรณีการปราศรัยหาเสียงเลือกตั้งจะครอบคลุมถึงลักษณะใดบ้าง
คำตอบ การปราศรัยหาเสียงขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงเป็นรายกรณี เช่น การขึ้นเวทีก็ถือเป็นปราศรัยหาเสียง (มติ กกต.ครั้งที่ ๔๕/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๔)
๓. คำถาม กรณีการดำเนินนโยบายต่อเนื่องของกระทรวงต่าง ๆ เช่น นโยบายปฏิรูปการศึกษา นโยบายเรียนฟรี เรียนดี ๑๕ ปี อย่างมีคุณภาพ นโยบาย ๖ คุณภาพ จะดำเนินการได้หรือไม่ และขัดต่อมาตรา ๑๘๑ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หรือไม่

คำตอบ สามารถกระทำได้ หากเป็นการปฏิบัติภารกิจในอำนาจหน้าที่ทางราชการของกระทรวงต่าง ๆ ตามปกติเท่าที่จำเป็น แต่การดำเนินการดังกล่าวจะต้องระมัดระวังมิให้มีการกระทำใด ๆ ที่เป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๘๑ ประกอบระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการใช้ทรัพยากรของรัฐหรือบุคลากรของรัฐเพื่อกระทำการใด ซึ้งจะมีผลต่อการเลือกตั้ง พ.ศ. ๒๕๕๑ และมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ้งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๕๐ (มติ กกต.ครั้งที่ ๔๖/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๕๔ )


๔. คำถาม การดำเนินรายการประจำที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา เช่น รายการ Student Channel Teacher TV หรืออื่น ๆ โดยไม่มีรัฐมนตรีไปออกรายการ สามารถกระทำได้หรือไม่

คำตอบ สามารถกระทำได้ หากเป็นการปฏิบัติภารกิจในอำนาจหน้าที่ทางราชการของกระทรวงต่าง ๆ ตามปกติเท่าที่จำเป็น แต่การดำเนินการดังกล่าวจะต้องระมัดระวังมิให้มีการกระทำใด ๆ ทีเป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๘๑ ประกอบระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการใช้ทรัพยากรของรัฐหรือบุคลากรของรัฐเพื่อกระทำการใด ซึ้งจะมีผลต่อการเลือกตั้ง พ.ศ. ๒๕๕๑ และมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๕๐ (มติ กกต.ครั้งที่๔๖/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๕๔ )


๕. คำถาม การประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการระดมทรัพยากร การบริจาค การสนับสนุนการศึกษา ของส่วนราชการ เข่น กองทุนครูของแผ่นดิน กองทุนส่งเสริมการศึกษาสำหรับเด็กพิการ ครูสอนดี เป็นต้น สามารถกระทำได้หรือไม่

คำตอบ สามารถกระทำได้ หากเป็นการปฏิบัติภารกิจในอำนาจหน้าที่ทางราชการของกระทรวงต่าง ๆ ตามปกติเท่าที่จำเป็น แต่การดำเนินการดังกล่าวจะต้องระมัดระวังมิให้มีการกระทำใด ๆ ที่เป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๘๑ ประกอบระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการใช้ทรัพยากรของรัฐหรือบุคลากรของรัฐเพื่อกระทำการใด ซึ่งจะมีผลต่อการเลือกตั้ง พ.ศ. ๒๕๕๑ และมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๕๐ (มติ กกต.ครังที ๔๖/๒๕๕๔ เมือวันที ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๕๔ )


๖. คำถาม การเชิญนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีไปปรากฏตัวในทีประชุม เช่น การเปิดการประชุม สัมมนาตามปกติ การเปิดป้ายวิทยาลัยหรือโรงเรียน สามารถกระทำได้หรือไม่

คำตอบ สามารถกระทำได้ หากเป็นการปฏิบัติภารกิจในอำนาจหน้าทีทางราชการของกระทรวงต่าง ๆ ตามปกติเท่าทีจำเป็น แต่การดำเนินการดังกล่าวจะต้องระมัดระวังมิให้มีการกระทำใด ๆ ทีเป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๘๑ ประกอบระเบียบคณะกรรมการการเลือกตังว่าด้วยการใช้ทรัพยากรของรัฐหรือบุคลากรของรัฐเพือกระทำการใด ซึงจะมีผลต่อการเลือกตัง พ.ศ. ๒๕๕๑ และมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึงสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๕๐ (มติ กกต.ครั้งที่ ๔๖/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๕๔ )


๗. คำถาม กรณีนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีจะไปช่วยเหลือหรือมอบเงินปลอบขวัญแก่ครู และบุคลากรทางการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ตามโครงการสวัสดิการและสวัสดิภาพครู สามารถกระทำได้หรือไม่

คำตอบ ควรหลีกเลี่ยงการดำเนินการ เนื่องจากอาจเป็นเหตุให้มีการร้องคัดค้านว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำเพื่อจูงใจผู้มีสิทธิเลือกตั้งให้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งให้แก่ผู้สมัครอื่น หรือพรรคการเมืองใด หรือให้งดเว้นการลงคะแนนให้แก่ผู้สมัครหรือพรรคการเมืองใด ตามมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๕๐ และอาจเป็นเหตุให้มีการร้องคัดค้านว่าใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบด้วยกฎหมายกระทำการใด ๆ เพื่อเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่ผู้สมัครหรือพรรคการเมือง ตามมาตรา ๕๗ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๕๐ (มติ กกต.ครั้งที่ ๔๖/๒๕๕๔ เมือวันที ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๕๔ )


๘. คำถาม กรณีป้ายนิทรรศการหรือป้ายประกาศซึงมีรูปและผลงานของนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีติดตั้งไว้ในสถานศึกษาต่าง ๆ นั้น เห็นว่า ควรแจ้งให้สถานศึกษาดังกล่าวปลดป้ายหรือยกเลิก การประชาสัมพันธ์ดังกล่าวทั้งหมดสามารถกระทำๆได้หรือไม่

คำตอบ ควรหลีกเลี่ยงการดำเนินการ เนื่องจากอาจเป็นเหตุให้มีการร้องคัดค้านว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำเพื่อจูงใจผู้มีสิทธิเลือกตั้งให้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งให้แก่ผู้สมัครอื่น หรือพรรคการเมืองใด หรือให้งดเว้นการลงคะแนนให้แก่ผู้สมัครหรือพรรคการเมืองใด ตามมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๕๐ และอาจเป็นเหตุให้มีการร้องคัดค้านว่าใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบด้วยกฎหมายกระทำการใด ๆ เพื่อเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่ผู้สมัครหรือพรรคการเมือง ตามมาตรา ๕๗ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๕๐ (มติ กกต.ครั้งที่ ๔๖/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๕๔ )


๙. คำถาม กรณีการใช้ทรัพยากรของรัฐ เพื่อรักษาความปลอดภัยให้แก่นายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรี เมื่อมีพระราชกฤษฎีกายุบสภาฯ แล้ว โดยใช้รถประจำตำแหน่งและใช้บุคลากรของรัฐ ซึ่งเป็นหน่วยรักษาความปลอดภัย และกรณีที่ต้องเดินทางไปกระทำภารกิจยังสถานที่ต่าง ๆ นอกเวลาราชการ หรือวันหยุดราชการ เช่น เดินทางไปปราศรัยหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดต่าง ๆ เป็นต้น จะกระทำได้หรือไม่

คำตอบ หากเป็นการกระทำภารกิจในอำนาจหน้าที่ทางราชการตามปกติให้ใช้เท่าที่จำเป็น และให้ใช้ดุลพินิจเป็นกรณี ๆ ไป แต่กรณีการใช้ทรัพยากรของรัฐเพื่อเดินทางไปปราศรัยหาเสียงเลือกตั้งให้กับผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นั้น พึงหลีกเลี่ยง เนื่องจากอาจเป็นเหตุให้ถูกร้องเรียนได้ (มติ กกต.ครั้งที่ ๔๖/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๕๔ )


๑๐. คำถาม กรณีเมื่อมีพระราชกฤษฎีกายุบสภาฯ แล้ว นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีได้รับเชิญไปเป็นวิทยากรหรือองค์ปาฐกในการสัมมนาหรือประชุมทางวิชาการของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน หรือสมาคมต่าง ๆ ซึ่งอาจจะมีการรับประทานอาหารว่าง หรือเป็นการพูดคุยในระหว่างรับประทานอาหารคํ่า (Dinner Talk) โดยผู้จัดสัมมนาเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย จะกระทำได้หรือไม่

คำตอบ หากการดำเนินการไม่เป็นการหาเสียงเลือกตั้งก็สามารถกระทำได้ แต่กรณีที่มีการจัดให้พูดคุยในระหว่างรับประทานอาหารคํ่า (Dinner Talk) พึงหลีกเลี่ยง เนื่องจากอาจเป็นเหตุให้ถูกร้องคัดค้านได้ (มติ กกต.ครั้งที่ ๔๖/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๕๔ )
 

๑๑. คำถาม กรณีเมื่อมีพระราชกฤษฎีกายุบสภาฯ แล้ว การประชุมสัมมนา การประชุมเชิงปฏิบัติการ การประชุมทางวิชาการที่หน่วยงานของรัฐเป็นผู้ดำเนินการ เช่น การประชุมพิจารณาแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑ หากผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีความสนใจ จะเข้าร่วมการประชุมดังกล่าว โดยมิได้รับเชิญ จะส่งผลต่อการสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพียงใดหรือไม่

คำตอบ หากผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เข้าร่วมการประชุม มิได้กระทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง ก็ไม่ส่งผลต่อสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร อนึ่ง การเข้าร่วมประชุมดังกล่าว ผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะต้องระมัดระวังมิให้มีการกระทำใด ๆ เพื่อจูงใจให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนเสียงเลือกตั้งให้แก่ผู้สมัครหรือพรรคการเมืองใด หรือจูงใจให้เข้าใจผิดในคะแนนนิยมของผู้สมัครหรือพรรคการเมืองใดตามมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๕๐ (มติ กกต.ครั้งที่ ๔๖/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๕๔ )


๑๒. คำถาม กรณีเมื่อมีพระราชกฤษฎีกายุบสภาฯ แล้ว นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีได้รับเชิญไปเปิดงานตามสถานที่ต่าง ๆ เช่น สถานศึกษา โรงพยาบาล สถานที่ทำการของรัฐตามโครงการต่างๆ จะกระทำได้มากน้อยเพียงใด หรือไม่

คำตอบ หากเป็นการกระทำภารกิจในอำนาจหน้าที่ทางราชการตามปกติเท่าที่จำเป็น โดยไม่มีการหาเสียง และไม่มีการกระทำใด ๆ ทีเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๕๐ ย่อมสามารถทำได้ (มติ กกต.ครั้งที่ ๔๖/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๕๔ )


๑๓. คำถาม กรณีเมื่อมีพระราชกฤษฎีกายุบสภาฯ แล้ว นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีเดินทางไปตรวจราชการและติดตามงานในต่างจังหวัด ตามอำนาจหน้าที่ ซึ่งอาจมีการพบปะกับกลุ่มมวลชนต่าง ๆ จะกระทำได้หรือไม่

คำตอบ หากเป็นการกระทำภารกิจในอำนาจหน้าที่ทางราชการตามปกติเท่าทีจำเป็น โดยไม่มีการหาเสียง และไม่มีการกระทำใด ๆ ที่เป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๕๐ ย่อมสามารถทำได้ (มติ กกต.ครั้งที่ ๔๖/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๕๔ )


* * * * * * * * * * * * * *

สำนักกฎหมายและคดี
๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๔

ที่มา เว็บไซต์ กกต. http://www.ect.go.th/newweb/upload/cms10/download/2618-7478-0.pdf

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น